หมู่ที่ 6 บ้านหญ้าคา

 ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้าน

ประวัติของหมู่บ้าน

            ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ ซึ่งเดิมเป็นหมู่บ้านเพียไซย์ ขึ้นอยู่ในเขตตำบลแก้งสนามนาง ห่างจากอำเภอบัวใหญ่ ระยะทาง ๑๓ กม. ซึ่งเดิม คือ โนนหญ้าคา เหตุที่ชื่อโนนหญ้าคา หรือบุหญ้าคา ผู้ก่อตั้งบ้านหญ้าคาครั้งแรกคือ นายก้อน นานอก เป็นครอบครัวแรก ย้ายมาจากอำเภอขามสะแกแสง เนื่องจากในอดีตดินแดนแห่งนี้ยังเป็นป่ารกทึบอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ มีแหล่งน้ำห้วย หนอง คลอง บึง และมีสัตว์ป่าชุกชุม ยังมีบริเวณแห่งหนึ่ง มีพื้นที่ประมาณ ๓ ตารางกิโลเมตร ห่างจากหมู่บ้านเล็กน้อยมีหญ้าคาขึ้นเต็มบริเวณดังกล่าว โดยไม่มีต้นไม้อื่นแต่อย่างใด และมีลักษณะเป็นเนินดินสูงบุคคลใดจะเข้าไปบริเวณแห่งนี้จะต้องบุกเข้าไป ประชาชนจึงเรียกติดปากกันเรื่อยมาว่า บ้านโนนหญ้าคา บางคนก็เรียกบ้านบุกหญ้าคา จนกระทั่งต่อมาคำว่าบุและคำว่าโนนได้เพี้ยนหายไป คงเหลือแต่คำว่า บ้านหญ้าคา ปี พ.ศ. ๒๔๗๖ เกิดความแห้งแล้งติดต่อกันหลายปี มีประชาชนในภาคอีสานหลายจังหวัดย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกรากร่วมกันทำไร่ ทำนา ทำให้มีประชากรเพิ่มขึ้นโดยลำดับ จนกลายเป็นหมู่บ้านขนาดกลาง เป็นหมู่บ้านลำดับที่ ๒๒ ขึ้นอยู่กับตำบลด่านช้าง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือ นายนาด มุ่งกิ่งกลาง ปัจจุบันมีนายสมบูรณ์ เพียนอก เป็นผู้ใหญ่บ้าน ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ ซึ่งเดิมเป็นหมู่บ้านเพียไซย์ ขึ้นอยู่ในเขตตำบลแก้งสนามนาง ห่างจากอำเภอบัวใหญ่ ระยะทาง ๑๓ กม. ซึ่งเดิม คือ โนนหญ้าคา เหตุที่ชื่อโนนหญ้าคา หรือบุหญ้าคา ผู้ก่อตั้งบ้านหญ้าคาครั้งแรกคือ นายก้อน นานอก เป็นครอบครัวแรก ย้ายมาจากอำเภอขามสะแกแสง เนื่องจากในอดีตดินแดนแห่งนี้ยังเป็นป่ารกทึบอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ มีแหล่งน้ำห้วย หนอง คลอง บึง และมีสัตว์ป่าชุกชุม ยังมีบริเวณแห่งหนึ่ง มีพื้นที่ประมาณ ๓ ตารางกิโลเมตร ห่างจากหมู่บ้านเล็กน้อยมีหญ้าคาขึ้นเต็มบริเวณดังกล่าว โดยไม่มีต้นไม้อื่นแต่อย่างใด และมีลักษณะเป็นเนินดินสูงบุคคลใดจะเข้าไปบริเวณแห่งนี้จะต้องบุกเข้าไป ประชาชนจึงเรียกติดปากกันเรื่อยมาว่า บ้านโนนหญ้าคา บางคนก็เรียกบ้านบุกหญ้าคา จนกระทั่งต่อมาคำว่าบุและคำว่าโนนได้เพี้ยนหายไป คงเหลือแต่คำว่า บ้านหญ้าคา ปี พ.ศ. ๒๔๗๖ เกิดความแห้งแล้งติดต่อกันหลายปี มีประชาชนในภาคอีสานหลายจังหวัดย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกรากร่วมกันทำไร่ ทำนา ทำให้มีประชากรเพิ่มขึ้นโดยลำดับ จนกลายเป็นหมู่บ้านขนาดกลาง เป็นหมู่บ้านลำดับที่ ๒๒ ขึ้นอยู่กับตำบลด่านช้าง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือ นายนาด มุ่งกิ่งกลาง ปัจจุบันมีนายสุวัฒน์ สุดาวงค์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน 

1. นายนาด มุ่งกิ่งกลาง 2436-2484
2. นายเขียว ชิดนอก 2484-2499
3. นายขุน ทองดวง 2499-2514
4. นายพรมมา มาตรอ 2514-2525
5. นายทองดี โม้ตา 2525-2540
6. นายบุญเลิศ เย็นกลาง 2540-2546
7. นายบุญยง ชิดนอก 2546-2547
8. นายทองพูน สัตยเขต 2547- 
9.นายสมบูรณ์ เพียนอก

10.นายสุวัฒน์ สุดาวงค์ 

 

ภูมิประเทศ

เป็นที่ดอน เหมาะสำหรับเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์
จำนวนพื้นที่ทั้งหมด 2,704 ไร่
พื้นที่อยู่อาศัย 80 ไร่
พื้นที่ทำนา 2,624 ไร่
พื้นที่ทำไร่ - ไร่
พื้นที่สาธารณะ 224- ไร่
ลักษณะภูมิอากาศ
มี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูหนาว ฤดูร้อน ฤดูฝน
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ป่าไม้
ในหมู่บ้านมีป่าชุมชน จำนวน 224 ไร่ ไม้ที่อยู่ในป่าได้แก่ ไม้ป่าเบญจพรรณ
การบริหารจัดการ/การดูแลรักษา
ปล่อยเป็นที่สาธารณะ ไว้เป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ (วัว ) และส่วนหนึ่งขุดเป็นสระเก็บน้ำฝนและเลี้ยงปลาพื้นที่ประมาณ 7 ไร่
การใช้ประโยชน์ เป็นที่เลี้ยงสัตว์ (วัว ) และเลี้ยงปลา
สภาพดิน ร้อยละ 80 เป็นดินร่วน เหมาะสำหรับการปลูกหม่อน
การบริหารจัดการ มีการปรับสภาพดินโดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์
การใช้ประโยชน์ เป็นที่อนุรักษ์ป่าธรรมชาติให้อุดมสมบูรณ์ และใช้เป็นทำเลเลี้ยงสัตว์
ปัญหา การบุกรุกที่สาธารณะของราษฎร

ที่ ประเภทแหล่งน้ำ ชื่อแหล่งน้ำ สภาพในปัจจุบัน การใช้ประโยชน์
1 สระ สระมะค่า มีน้ำเพียวพอ ใช้สำหรับอุปโภค-บริโภคและด้านการเกษตรปลูกผัก
2 คลอง คลองอีสานเขียว มีน้ำเพียวพอ ใช้เพื่อการเกษตร
3 สระ สระต้นพุทธ มีน้ำเพียวพอ ใช้เพื่อการเกษตร
4 สระ สระใหม่ มีน้ำเพียวพอ ใช้เพื่อการเกษตร
5 สระ สระโนนประดู มีน้ำเพียวพอ ใช้เพื่อการเกษตร

 

1.3 การคมนาคม
การเดินทางจากหมู่บ้าน ถึงอำเภอบัวใหญ่เส้นทางที่สะดวกสามารถเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวหรือรถยนต์ แต่ไม่มีรถประจำทาง ใช้เวลาประมาณ 40 นาที
1.4 สาธารณูปโภค สาธารณูปการ
- ร้านค้าชุมชน - แห่ง
- ร้านขายของชำ 4 แห่ง
-โทรศัพท์ประจำบ้าน - ครัวเรือน
-โทรศัพท์มือถือ 110 เครื่อง
- โทรศัพท็สาธารณะ 2 แห่ง (ชำรุดใช้การไม่ได้)
- โรงสี 2 แห่ง
1.5 ไฟฟ้า จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ จำนวน 132 ครัวเรือน คิดเป็น ร้อยละ 100
1.6 ประปา จำนวนครัวเรือนที่มีน้ำประปาใช้ จำนวน 132 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 100
2. ข้อมูลทางเศรษฐกิจของหมู่บ้าน
- การประกอบอาชีพ
- อาชีพหลัก (1) ทำนา จำนวน 125 ครัวเรือน
- อาชีพรอง (1) เลี้ยงสัตว์ จำนวน 110 ครัวเรือน
(2) รับจ้าง จำนวน 7 ครัวเรือน
- อาชีพเสริม (1) หัตถกรรมทอผ้า จำนวน 36 ครัวเรือน
(2) อุตสาหกรรมทอเสื่อกก 36 ครัวเรือน
- แรงงานภายในหมู่บ้าน
- คนวันทำงาน 230 คน
- จำนวนคนมีงานทำ 190 คน
- จำนวนคนว่างงาน - คน
- จำนวนแรงงานในอนาคต 40 คน
- คนในหมู่บ้านไปทำงานนอกชุมชน
- ไปทำงานต่างจังหวัด 33 คน
- ไปทำงานต่างประเทศ 39 คน
- รายได้เฉลี่ยของประชากร (ตามเกณฑ์ จปฐ. ปี 2551 ) 43,755 บาท/คน/ปี
- ครัวเรือนยากจน ( รายได้ไม่ถึง 23,000 บาท/คน/ปี) ปี 2551 จำนวน 4 ครัวเรือน
- หนี้สิน จำนวนครัวเรือนมีหนี้สิน จำนวน ครัวเรือน เป็นเงิน บาท
- เงินออม ครัวเรือนที่มีเงินออม จำนวน 134 ครัวเรือน




 
 ข้อมูลพื้นฐานชุมชน

1.ข้อมูลทางกายภาพ
1.1 หลังคาเรือนและประชากร
บ้านหญ้าคา มีจำนวน 139 ครัวเรือน จำนวนประชากรทั้งหมด 485 คน โดยแยกเป็น
ชาย 213 คน หญิง 272 คน ( จากข้อมูล จปฐ.ปี 2551 )

ข้อมูลประชากรแยกช่วงอายุ

 

 ช่วงอายุประชากร  จำนวนเพศชาย (คน)  จำนวนเพศหญิง (คน)  จำนวนคน(รวม)
น้อยกว่า 1 ปีเต็ม - 4  4
1 ปีเต็ม – 2 ปี  6 11 17
3 ปีเต็ม – 5 ปี  14  12  26
6 ปีเต็ม – 11 ปี  23  36 59
12 ปีเต็ม – 14 ปี 14  12  26
15 ปีเต็ม – 17 ปี  8  12 20
18 ปีเต็ม – 49 ปี 72  111 183
50 ปีเต็ม – 60 ปีเต็ม  34  35 69
มากกว่า 60ปีเต็มขึ้นไป 42  39 81
รวมทั้งหมด 213 272 485

 

 1.2 ที่ตั้ง ภูมประเทศ ลักษณะพื้นที่ ทรัพยากร
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านโสกงูเหลือม ตำบลขุนทอง
ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านห้วยยาง ตำบลห้วยยาง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านเพียไซย์ ตำบลขุนทอง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านบุไท ตำบลห้วยยาง