หมู่ที่ 5 บ้านเพียไซย์

 

ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้าน
 
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน
         จากคำบอกเล่าของ ปู่ ย่า ตา ยาย ประกอบกับการค้นคว้าหาหลักฐานมาอ้างอิงถึงความเป็นไปได้ ของคำว่า เพีย + ไซ ซึ่งเดิมบ้านเพียไซย์เดิมเป็นที่ตั้งทัพของนายทหารในสมัยโบราณ มียศชั้น เพีย มีนามว่า ชัย สำเนียงทางภาคอีสานจะออกเสียง ช. ช้างเป็น ซ.โซ่ เช่น ชัย จะออกเสียงเป็นไซ (ไม่มี ช.ช้างในสำเนียงอีสาน) ส่วนคำว่า เพี้ย หรือ เพีย นั้นในหนังสือ “ลัทธิธรรมเนียมต่างๆ” ฉบับหอสมุดแห่งชาติ ได้กล่าวถึง มีรายละเอียดน่าสนใจมาก คือ ตำแหน่งผู้ปกครองสำหรับประเทศทางภาคอีสานทั้งหลายแต่โบราณนั้น เขาถือว่าตำแหน่งเจ้า ผู้ครองเมืองตั้งแต่เมืองแสนลงมาจนถึงซาบัณฑิต เรียกว่า “เพีย” พอจะสรูปได้ว่าบ้านเพียไซย์ ใช้นามของนายทหารที่มีชื่อว่า ชัย (ไซ) มียศ ชั้น พยา (เพีย) ที่เคยมาตั้งทัพที่บ้าน – เพียไซย์จึงได้ชื่อว่า “เพียไซย์” มาจนถึงปัจจุบันโดยมีผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือนายชัง โนนนอก ปัจจุบันมีนายสมพงษ์ ผ่องเพิ่ม ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน จากคำบอกเล่าของ ปู่ ย่า ตา ยาย ประกอบกับการค้นคว้าหาหลักฐานมาอ้างอิงถึงความเป็นไปได้ ของคำว่า เพีย + ไซ ซึ่งเดิมบ้านเพียไซย์เดิมเป็นที่ตั้งทัพของนายทหารในสมัยโบราณ มียศชั้น เพีย มีนามว่า ชัย สำเนียงทางภาคอีสานจะออกเสียง ช. ช้างเป็น ซ.โซ่ เช่น ชัย จะออกเสียงเป็นไซ (ไม่มี ช.ช้างในสำเนียงอีสาน) ส่วนคำว่า เพี้ย หรือ เพีย นั้นในหนังสือ “ลัทธิธรรมเนียมต่างๆ” ฉบับหอสมุดแห่งชาติ ได้กล่าวถึง มีรายละเอียดน่าสนใจมาก คือ ตำแหน่งผู้ปกครองสำหรับประเทศทางภาคอีสานทั้งหลายแต่โบราณนั้น เขาถือว่าตำแหน่งเจ้า ผู้ครองเมืองตั้งแต่เมืองแสนลงมาจนถึงซาบัณฑิต เรียกว่า “เพีย” พอจะสรูปได้ว่าบ้านเพียไซย์ ใช้นามของนายทหารที่มีชื่อว่า ชัย (ไซ) มียศ ชั้น พยา (เพีย) ที่เคยมาตั้งทัพที่บ้าน – เพียไซย์จึงได้ชื่อว่า “เพียไซย์” มาจนถึงปัจจุบันโดยมีผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือนายชัง โนนนอก ปัจจุบันมีนายวิชาญ พรมสุภาพ ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน 

1. นายตั้น ประสพสุข
2. นายอินทร์ พิมลนอก
3. นายหยวก เสลานอก
4. นายอินทร์ พิมลนอก
5. นายสงัด วิเศษนอก
6. นายยงค์ พินิจจอหอ
7. นายกิมยง หลายทวีวัฒน์
8. นายกิมยง หลายทวีวัฒน์ ( คนปัจจุบัน )

9.นายสมพงษ์ ผ่องเพิ่ม (กำนันตำบลขุนทอง ปี 2564)

10.นายวิชาญ พรมสุภาพ คนปัจจุบัน

บ้านเพียไซย์ มีจำนวนหลังคาเรือน 90 หลังคาเรือน จำนวนประชากรทั้งหมด 554 คน แยกเป็น ชาย 132 คน หญิง 145 คน

 

จำนวนประชากร (จากข้อมูล จปฐ.ปี 2551 )

 ช่วงอายุประชากร  จำนวนเพศชาย (คน)  จำนวนเพศหญิง (คน)  จำนวนคน(รวม)
น้อยกว่า 1 ปีเต็ม 1 -  1
1 ปีเต็ม – 2 ปี  2 3 5
3 ปีเต็ม – 5 ปี  11  5  16
6 ปีเต็ม – 11 ปี  21  21 42
12 ปีเต็ม – 14 ปี 8  5  13
15 ปีเต็ม – 17 ปี  9  9 18
18 ปีเต็ม – 49 ปี  42  45 87
50 ปีเต็ม – 60 ปีเต็ม  18  27 45
มากกว่า 60ปีเต็มขึ้นไป 20  30 50
รวมทั้งหมด 132 145 277

 

2.อาณาเขตและพื้นที่
อาณาเขตทิศเหนือ ติดกับ บ้านดอนคนทา
อาณาเขตทิศใต้ ติดกับ บ้านตะคร้อ ต.ด่านช้าง
อาณาเขตทิศตะวันออก ติดกับ บ้านตะคร้อเก่า ต.ด่านช้าง
อาณาเขตตะวันตก ติดกับ บ้านดอนกระชาย ต. ห้วยยาง

3.ข้อมูลด้านกายภาพ
3.1 ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ
เป็นที่มีพื้นที่เป็นที่ลุ่ม เหมาะสำหรับทำการเกษตร ( ปลูกข้าว )
3.2 การคมนาคม
มีระยะทางห่างจากอำเภอบัวใหญ่ 10 กิโลเมตร ถนนลาดยาง 10 กิโลเมตร มีรถประจำทางสาย บัวใหญ่-ชัยภูมิ ผ่าน

3.3 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ป่าชุมชน
ในหมู่บ้าน มีป่าชุมชน จำนวน 8 ไร่ ไม้ที่มีในป่าชุมชนได้แก่ มะขาม และสะเดา
- ดิน สภาพดิน ร้อยละ 50 เป็นดินเค็ม
การใช้ประโยชน์ ใช้พื้นที่ทำนาปลูกข้าว
การดูแลรักษา ปรับสภาพพื้นที่ทำนา ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ เพื่อบำรุงดิน
ปัญหา พื้นที่นาส่วนมาก เป็นดินเค็ม ทำการเกษตรไม่ได้ผลเท่าที่ควร

4. ข้อมูลทางเศรษฐกิจ

- พื้นที่ทั้งหมด จำนวน 2054 ไร่
- พื้นที่อยู่อาศัย จำนวน 77 ไร่
- พื้นที่ทำนา จำนวน 2005 ไร่
- พื้นที่ทำไร่ จำนวน - ไร่
- พื้นที่สาธารณะ จำนวน 12 ไร่

 แหล่งน้ำ

ที่ ประเภทแหล่งน้ำ ชื่อแหล่งน้ำ สภาพในปัจจุบัน การใช้ประโยชน์
1 สระน้ำ สระตะวันตก แคบตื้นเขิน ใช้เพื่ออุปโภค
2 คลองส่งน้ำ ฝายตะวันออก พอใช้ได้ ส่งน้ำเข้าพท.และ อ.บัวใหญ่
3 สระน้ำ สระหนองโปง พอใช้ได้ เก็บน้ำไว้บริโภค
4 คลองเก็บน้ำ ฝายตะวันออก พอใช้ได้ กักเก็บน้ำเพื่อการเกษตร



 
3.4 สาธารณูปการ เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ บริการสาธารณะอื่นๆ
-ครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้ ครบทุกครัวเรือน
-ครัวเรือนใช้น้ำประปาครบทุกครัวเรือน
-โทรศัพท์ประจำบ้าน 2 ครัวเรือน
-โทรศัพท์มือถือ 125 เครื่อง
-โรงสี 1 แห่ง
ไฟฟ้า จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ จำนวน 90 ครัวเรือน คิดเป็น ร้อยละ 100
ประปา จำนวนครัวเรือนที่มีน้ำประปาใช้ จำนวน 90 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 100

2. ข้อมูลทางเศรษฐกิจของหมู่บ้าน
- การประกอบอาชีพ
- อาชีพหลัก (1) ทำนา จำนวน 43 ครัวเรือน
- อาชีพรอง (1) ค้าขาย จำนวน 6 ครัวเรือน
(2) รับจ้าง จำนวน 50 ครัวเรือน
- แรงงานภายในหมู่บ้าน
- คนวันทำงาน 211 คน
- จำนวนคนมีงานทำ 156 คน
- จำนวนคนว่างงาน 32 คน
- จำนวนแรงงานในอนาคต 20 คน
- คนในหมู่บ้านไปทำงานนอกชุมชน
- ไปทำงานต่างจังหวัด 70 คน
-- ไปทำงานต่างประเทศ 30 คน
- รายได้เฉลี่ยของประชากร (ตามเกณฑ์ จปฐ. ปี 2551 ) 42,730 บาท/คน/ปี
- ครัวเรือนยากจน ( รายได้ไม่ถึง 23,000 บาท/คน/ปี) ปี 2551 จำนวน 0 ครัวเรือน
- หนี้สิน จำนวนครัวเรือนมีหนี้สิน จำนวน ครัวเรือน เป็นเงิน บาท
- เงินออม ครัวเรือนที่มีเงินออม จำนวน 90 ครัวเรือน


ผลิตภัณฑ์ชุมชน
- ผลิตภัณฑ์หลัก คือ น้ำยาอเนกประสงค์
- ผลิตภัณฑ์รอง คือ -
วัตถุดิบในการผลิตสินค้าชุมชน แหล่งวัตถุดิบ ภายในหมู่บ้าน/อำเภอ
- ข้อมูลผู้มีความรู้ /ภูมิปัญญาท้องถิ่น / ปราชญ์ชาวบ้าน ด้านต่างๆในชุมชน-

ข้อมูลผู้มีความรู้ /ภูมิปัญญาท้องถิ่น / ปราชญ์ชาวบ้าน ด้านต่างๆในชุมชน

ที่ ชื่อ - สกุล บ้านเลขที่ อายุ ประเภทที่ชำนาญ
 1 นายเกลี้ยง จันสันเทียะ 10 76 ด้านการเกษตร
 2 นายประทุม ผ่องเพิ่ม 18 60 แพทย์แผนไทย
 3 นายเจริญ จงจอหอ 46 53 ประเพณีวัฒนาธรรม