หมู่ที่ 8 บ้านโคกกลาง

 

ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้าน

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน

บ้านโคกกลางชาวบ้านย้ายถิ่นฐานมาจากจังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดสารคาม เนื่องจากมีญาติพี่น้องมาได้ย้ายถิ่นฐานมาก่อนหน้านี้แล้วซึ่งอาศัยอยู่ในหมู่บ้านต่างๆของตำบลขุนทอง จึงได้ชักชวนกันมา และเห็นว่าพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การประกอบอาชีพเกษตร มีป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีอาหารตามธรรมชาติที่เพียงพอต่อการบริโภคของคนในชุมชน ซึ่งภาษาอีสานเรียกว่าพื้นป่าว่า “โคก” จึงได้ตั้งชื่อตามลักษณะพื้นที่ที่เป็นโคก ว่า“บ้านโคกกลาง” และได้จัดตั้งหมู่บ้านอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ.2458 และให้ชื่อบ้านว่าบ้านโคกกลางหมู่ที่ 14 ตำบลด่านช้าง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา โดยมี ผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือนายพันธ์ (ไม่ทราบนามสกุล) จนถึงปี พ.ศ.2522 มีการแยกการปกครองจากตำบลด่านช้าง เป็นตำบลขุนทอง หมู่บ้านโคกกลางได้ขึ้นการปกครองของตำบลขุนทอง เป็นหมู่บ้านที่ 8  โดยมีผู้ใหญ่บ้าน นายทอง ลาธิ เป็นผู้ใหญ่บ้าน ในขณะนั้น ปัจจุบันมีนายบุญถม พันธ์ชมพู ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน บ้านโคกกลางชาวบ้านย้ายถิ่นฐานมาจากจังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดสารคาม เนื่องจากมีญาติพี่น้องมาได้ย้ายถิ่นฐานมาก่อนหน้านี้แล้วซึ่งอาศัยอยู่ในหมู่บ้านต่างๆของตำบลขุนทอง จึงได้ชักชวนกันมา และเห็นว่าพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การประกอบอาชีพเกษตร มีป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีอาหารตามธรรมชาติที่เพียงพอต่อการบริโภคของคนในชุมชน ซึ่งภาษาอีสานเรียกว่าพื้นป่าว่า “โคก” จึงได้ตั้งชื่อตามลักษณะพื้นที่ที่เป็นโคก ว่า“บ้านโคกกลาง” และได้จัดตั้งหมู่บ้านอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ.2458 และให้ชื่อบ้านว่าบ้านโคกกลางหมู่ที่ 14 ตำบลด่านช้าง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา โดยมี ผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือนายพันธ์ (ไม่ทราบนามสกุล) จนถึงปี พ.ศ.2522 มีการแยกการปกครองจากตำบลด่านช้าง เป็นตำบลขุนทอง หมู่บ้านโคกกลางได้ขึ้นการปกครองของตำบลขุนทอง เป็นหมู่บ้านที่ 8  โดยมีผู้ใหญ่บ้าน นายทอง ลาธิ เป็นผู้ใหญ่บ้าน ในขณะนั้น ปัจจุบันมีนายบุญถม พันธ์ชมพู ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน 


รายนามผู้ใหญ่บ้านตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน
1. นายพันธ์ ( ไม่ทราบนามสกุล )
2. นายใหญ่ ( ไม่ทราบนามสกุล )
3. นายเติ่ง พันตาเอก
4. นายซุย อุปาระ
5. นายทอง ลาทิ
6. นายสิทธ์ ทะสุนทร
7. นายเจริญ นามบุญลือ
8. นายเสาร์ พระสีนาม
9. นายทองอินทร์ ลาทิ
10.นายคำพัน นามบุญลือ
11.นายบุญสาร แสนลือชา 

12.นายบุญถม พันธ์ชมภู (ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน )

 ข้อมูลพื้นฐานชุมชน

1.ข้อมูลทางกายภาพ
1.1 หลังคาเรือนและประชากร
บ้านขุนทอง มีจำนวน 158 ครัวเรือน จำนวนประชากรทั้งหมด 545 คน โดยแยกเป็น
ชาย 254 คน หญิง 291 คน ( จากข้อมูล จปฐ.ปี 2551 )

 ช่วงอายุประชากร  จำนวนเพศชาย (คน)  จำนวนเพศหญิง (คน)  จำนวนคน(รวม)
น้อยกว่า 1 ปีเต็ม 1 2 3
1 ปีเต็ม – 2 ปี 8 5 13
3 ปีเต็ม – 5 ปี 11 13 24
6 ปีเต็ม – 11 ปี 32 34 66
12 ปีเต็ม – 14 ปี 19 17 36
15 ปีเต็ม – 17 ปี 17 14 31
18 ปีเต็ม – 49 ปี 87 116 203
50 ปีเต็ม – 60 ปีเต็ม 41 44 85
มากกว่า 60ปีเต็มขึ้นไป 28 46 84
รวมทั้งหมด 254 291 545

 

1.2 ที่ตั้ง ภูมประเทศ ลักษณะพื้นที่ ทรัพยากร
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลท่าวัด อ. แวงน้อย
ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านหนองหว้าเอน ตำบลขุนทอง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านหนองคอม ตำบลโนนจาน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านหนองโดน ตำบลขุนทอง

 ภูมิประเทศ
เป็นที่ราบ เนินดินทราย สูง – ต่ำ เป็นพื้นที่ราบ เนิน ลุ่ม ดอน
ลักษณะภูมิอากาศ
มี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูหนาว ฤดูร้อน ฤดูฝน ช่วงร้อนจะมีสภาพแล้งเป็นเวลานาน ใช้เป็นพื้นที่ผลิตอ้อย มันสำปะหลัง และข้าว

สภาพดิน ร้อยละ 80 เป็นดินร่วนปนทราย เหมาะสำหรับการเพาะปลูก
การบริหารจัดการ มีการนำดินไปตรวจสภาพดินอย่างต่อเนื่อง มีการพักพื้นดิน ใส่ปุ๋ยมูลสัตว์บำรุงดิน มีการไถกลบฟางหลังฤดูเก็บเกี่ยว
การใช้ประโยชน์ ใช้ปลูกพืชตามฤดูกาล ปลูกพืชหมุนเวียน และเลี้ยงสัตว์
ปัญหา ดินไม่อุ้มน้ำ แห้งแล้ง โดยเฉพาะฤดูแล้ง สภาพดินเริ่มเสื่อม

 

แหล่งน้ำ  

ที่ ประเภทแหล่งน้ำ ชื่อแหล่งน้ำ สภาพในปัจจุบัน การใช้ประโยชน์
1 หนอง หนองหลุ่งจาน มีน้ำเพียงพอ ใช้เพื่อการเกษตรเลี้ยงสัตว์
2 คลอง คลองหลุ่งจาน ตื้นขึ้นมีไม่น้ำเพียงพอ ใช้เพื่อการเกษตรเลี้ยงสัตว์

 

1.6 ประปา
จำนวนครัวเรือนที่มีน้ำประปาใช้ จำนวน 158 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 100

2. ข้อมูลทางเศรษฐกิจของหมู่บ้าน
- การประกอบอาชีพ
- อาชีพหลัก (1) ทำนา จำนวน 153 ครัวเรือน
(2) ทำไร่ จำนวน 130 ครัวเรือน
(3) ปลูกผัก จำนวน 4 ครัวเรือน
- อาชีพรอง (1) เลี้ยงสัตว์ จำนวน 132 ครัวเรือน
(2) รับจ้าง จำนวน 5 ครัวเรือน
- อาชีพเสริม (1) อุตสาหกรรมในครัวเรือน จำนวน 6 ครัวเรือน
(2) ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จำนวน 35 ครัวเรือน
- รายได้เฉลี่ยของประชากร (ตามเกณฑ์ จปฐ. ปี 2551 ) 40,191 บาท/คน/ปี
- ครัวเรือนยากจน ( รายได้ไม่ถึง 23,000 บาท/คน/ปี) ปี 2551 จำนวน 1 ครัวเรือน
- หนี้สิน จำนวนครัวเรือนมีหนี้สิน จำนวน ครัวเรือน เป็นเงิน 2,130,000 บาท
- เงินออม ครัวเรือนที่มีเงินออม จำนวน 156 ครัวเรือน
- วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ท้องถิ่น
การสื่อสารในหมู่บ้าน ใช้ภาษาไทยโคราช การแต่งกายในสมัยก่อนมีการนุ่งโจงกระเบน แต่ในปัจจุบันได้สูญหายไป มีการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นแบบพี่แบบน้อง ใช้ระบบเครือญาติในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และมีประเพณีที่สืบทอดกันมาถึงปัจจุบันเช่น ประเพณีสงกรานต์ เข้าพรรษา ออกพรรษา ลอยกระทง และทำบุญตักบาตรปีใหม่
 

 - ข้อมูลผู้มีความรู้ /ภูมิปัญญาท้องถิ่น / ปราชญ์ชาวบ้าน ด้านต่างๆในชุมชน

ชื่อ -   สกุล  บ้านเลขที่ อายุ ความรู้ / ความสามารถที่โดดเด่น
1.นายประเสริฐ ศรีบุญลือ 123/1 53 ด้านการเกษตรผสมผสาน
2. นางลุน วงษ์หนองแวง 99 44 อุตสาหกรรมในครัวเรือน
3. นางคำผง สุโพธิ์ 107 55 แพทย์แผนไทย
4. นายศิลา จอดนอก 35 71 ประเพณี/วัฒนธรรม/ศาสนา

 

- ตลาดในชุมชน ช่องทางการตลาด และเครือข่ายการตลาด
ร้านค้าชุมชน / ศูนย์สาธิตการตลาด
3. สภาพปัญหาทางเศรษฐกิจของครัวเรือน
3.1 รายได้ของครัวเรือน ( ที่มา จากข้อมูล จปฐ .ปี2551 )

ที่ รายการ รายรับ(บาท) หมายเหตุ
1 ปลูกพืชไว้ขาย(และหรือเหลือไว้ขายเอาไว้กินเอง) 110000  
  ปลูกพืชไว้กินเองและการไปหาจากแหล่งธรรมชาติ 58000  
  เลี้ยงสัตว์ไว้ขาย(และหรือเหลือขายเอาไว้กินเอง)  235000  
  เลี้ยงสัตว์ไว้กินเอง และการไปหาจากแหล่งธรรมชาติ  03000  
  ทำประมงไว้ขาย (และหรือเหลือขายเอาไว้กินเอง) 806000  
  ทำประมงไว้กินเองและการไปหาจากแหล่งธรรมชาติ
1612000
 
2 รายได้จากเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน   3224000  
3 รายได้จาการค้าขาย หรือการแปรรูปผลผลิตเกษตร 150000  
4 รายได้อื่น ๆ (ค่าเช่า ลูกหลานส่งเงินมาให้ดอกเบี้ยเงินฝาก 150000  
5 ทำสวน ปลูกไว้ขาย  150000  
  ทำสวนกินเอง 451100  
  ทำไร่ ปลูกไว้ขาย 751180  
  ทำไร่ กินเอง 3655700  
  ทำสวนไม้ดอก ปลูกไว้ขาย 204000  
  ทำสวนไม้ดอก ไว้ใช้เอง 211000  
6 ผลผลิตจากการแปรรูปผลผลิตการเกษตร ทำไว้ขาย 129470   
7 ผลผลิตจากการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร กินเอง 921000  
8 รายได้จากการประกอบธุรกิจ 12578360     
  รวม 150284600